ในวันที่ผู้บริโภคชาวไทยมีการเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์มือถือทั้งหมด 101.2 ล้านเครื่องในช่วงต้นปี 2023 โดยตัวเลขนี้คิดเป็นร้อยละ 141.0 ของประชากรทั้งหมด (ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 71.75 ล้านคนในเดือนมกราคม 2023) แต่สำหรับผู้ที่ต้องการใช้โอกาสนี้สำหรับเผยแพร่สิ่งพิมพ์ของคุณให้กับผู้อ่านจำนวนมากที่ใช้โทรศัพท์มือถือ ผมอยากบอกว่า มันไม่ใช่เรื่องที่ดีนะครับ
มีคำถามที่ต้องการชวนพวกคุณคิดคือ หากคุณต้องการนำสิ่งพิมพ์ที่ได้รับการเปลี่ยนรูปแบบให้เป็น PDF และนำไปเผยแพร่ให้กับผู้อ่านใช้อ่านบนโทรศัพท์มือถือการสื่อสารนั้นจะมีคุณภาพเช่นเดียวกับการอ่านผ่านสิ่งพิมพ์แบบกระดาษหรือไม่?
จากการสำรวจพบว่า "การอ่าน" นอกจากต้องพึ่งพาพื้นฐานและประสบการณ์การอ่านของแต่ละบุคคลแล้ว ช่องทางหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับสื่อสารเนื้อหาหรือบทความที่มีความยาว (Long Form Content) ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
หากไม่เชื่อผมอยากให้คุณลองสำรวจคนรอบๆ ตัวคุณก็ได้ว่า พวกเขารู้สึกอย่างไรเมื่อต้องอ่านไฟล์ PDF บนโทรศัพท์มือถือ ผมเชื่อว่าจะมีผู้ตอบคำถามส่วนหนึ่งตอบว่าไม่มีปัญหา แต่ต้องคุณแน่ใจนะว่าพวกเขาอ่านเนื้อหาครบถ้วนทั้งหมด!!!
ในอดีตการสื่อสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์นั่นหมายความว่า เราต้องอ่านเนื้อหาต่างๆ ที่ถูกพิมพ์บนกระดาษหลากหลายขนาด อาทิ A5, A4, A3 เป็นต้น และไม่แปลกอะไรที่เอกสาร บทความ นิตยสาร หนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ จะถูกแปลงให้เป็น PDF เพื่อนำไปใช้เผยแพร่และกระจายให้กับผู้อ่านผ่านช่องทางออนไลน์เข้าถึงได้สะดวกผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop PC) ของพวกเขา รวมถึงการนำไปจัดจำหน่ายผ่านผู้ให้บริการออนไลน์ก็นิยมทำเช่นกันในยุคนั้น
จุดร่วมคือ ทุกคน ทุกธุรกิจ ต่างก็เห็นตรงกันว่านี่เป็นโอกาสสำคัญที่บุคคลหรือธุรกิจใดๆ ที่จะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ลดต้นการพิมพ์และประหยัดต้นทุนการเผยแพร่ได้มากขึ้น
แต่เดี๋ยวก่อน!!! แม้ข้อดีของการแปลงเป็น PDF คือความสะดวกและประหยัด แต่หากผู้อ่านหรือผู้รับสารนำ E-Book ที่อยู่ในรูปแบบ PDF ไปเปิดอ่านบนโทรศัพท์มือถือกลับไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
ผู้ที่เคยอ่าน E-Book บนโทรศัพท์มือถือ (ส่วนใหญ่ถูกออกแบบและผลิตบนโครงสร้างกระดาษ A4) จะพบว่า หากต้องการอ่านเนื้อหาเหล่านั้นให้หมดบนหน้าจอเล็กๆ คุณจำเป็นต้องใช้นิ้วหยิบ-หนีบบนหน้าจอเพื่อย่อ-ขยายเนื้อหา กว่าจะอ่าน E-book จนครบถ้วนทั้งหมด คุณต้องเลื่อนนิ้วมือไปทางซ้ายและขวาจนทั่วหน้าจอ หรืออาจต้องใช้ทั้ง 2 มือ ซึ่งโดยรวมแล้วเป็นประสบการณ์การอ่านที่ไม่ดีเอามากๆ
ในความเป็นจริง การนำสิ่งพิมพ์ทั้งเล่มมาย่อส่วนเพื่อใช้อ่านบนโทรศัพท์มือถือนอกจากทำให้ผู้อ่านอ่านเนื้อหาได้ยากลำบากแล้วยังส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย อาทิ
การพิจารณานำสิ่งพิมพ์ เอกสาร และเนื้อหาต่างๆ ที่สร้างจาก "ต้นฉบับกระดาษ" ซึ่งมีโครงสร้างขนาดใหญ่นำมาย่อขนาดเพื่อใช้งานบนหน้าจอขนาดเล็กๆ ของโทรศัพท์มือถือโดยไม่คำนึงถึงความสะดวกในการอ่านก็อาจส่งผลให้ผู้อ่านไม่ได้รับความสะดวก ส่งผลให้การสื่อสารด้วยการอ่านที่เกิดขึ้นไม่มีประสิทธิภาพ ความยากลำบากในการอ่านนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้ไม่อ่านเนื้อหาทั้งหมดจนจบ
ดังนั้นเพื่อให้การอ่านดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง การสื่อสารด้วยเนื้อหาในรูปแบบบทความที่มุ่งเผยแพร่ให้ใช้งานบนมือถือจึงควรได้รับการจัดการให้สร้างประสบการณ์การอ่านบนมือถือที่ดีที่สุด และวิธีการนั้นก็คือ การจัดเรียงเนื้อหาใหม่ (Reflow)
การจัดเรียงเนื้อหาใหม่ (Reflow) จึงหมายถึง การนำเนื้อหามาปรับปรุง ออกแบบ จัดเรียงให้มีความยืดหยุ่น (Responsive Design) แสดงผลได้ยืดหยุ่นได้ตามขนาดหน้าจอของอุปกรณ์ดิจิทัลที่มีหลากหลายขนาดที่เปลี่ยนไป โดยไม่ยึดติดกับโครงสร้างกระดาษหรือสิ่งพิมพ์แบบเดิม
และไม่ใช่แค่ "การจัดเรียงเนื้อหาใหม่" แต่เป็นการจัดทำเนื้อหาให้สามารถมอบประสบการณ์การอ่านที่ดีที่สุดให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคจำนวนมากที่นิยมใช้โทรศัพท์มือถือซึ่งมีขนาดหน้าจอเล็กๆ ในการรับรู้ข้อมูลต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
การจัดเรียงเนื้อหาใหม่ (Reflow) เพื่อการอ่านเนื้อหาบนสมาร์ตโฟนเป็นงานสําคัญที่ช่วยทำให้แน่ใจว่า ผู้ใช้หรือผู้อ่านจะได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นเมื่อใช้สื่อบนหน้าจอขนาดเล็กๆ ของพวกเขา แต่ไม่ได้หมายความว่าการนำเสนอทุกชนิดควรได้รับการจัดเรียงเนื้อหาใหม่ และนี่คือเหตุผลบางประการสำหรับใช้ประกอบการพิจารณา:
แม้ว่าการจัดเรียงเนื้อหาใหม่ให้ยืดหยุ่นรอบรับได้ทุกขนาดหน้าจอจะมีประโยชน์อย่างมากต่อสื่อสาร แต่ประสบการณ์การอ่านบนมือถือที่น่าทึ่งนั้นเป็นมากกว่าแค่การอ่านเนื้อหาที่พอดีกับหน้าจอขนาดเล็ก เช่นเดียวกับการเปิดฟังวิทยุบนมือถือแค่เพียงเพราะว่ามันสามารถเปิดได้ หากคิดแบบนั้นอาจทำให้คุณพลาดบางอย่างที่สำคัญไป
สมาร์ตโฟนเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเนื้อหาและวิธีการโต้ตอบกับเนื้อหาที่แตกต่างไปจากสื่อแบบดั้งเดิม นอกจากการสัมผัส การเลื่อน การได้รับความรู้สึกจากภาพที่เต็มหน้าจอหรือการมอบประสบการณ์จากบรรยากาศจำลองที่เสมือนจริงซึ่งการสื่อสารบนกระดาษแบบเดิมทำไม่ได้
เป้าหมายของจากการจัดเรียงเนื้อหาใหม่ (Reflow) ที่นอกเหนือไปจากการสร้างประสบการณ์การอ่านที่ดีแล้ว จึงเป็นพยายามดึงดูดผู้อ่านให้ใช้เวลาอยู่ในหน้าเว็บหรือแอปให้นานขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นโดยคำนึงถึงแค่การคลิ๊กหรือเลื่อนหน้าจอและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเนื้อหาได้แค่การอ่านเท่านั้น
การตัดสินใจว่าการจัดเรียงเนื้อหาใหม่ (Reflow) เป็นหน้าที่ของผู้เผยแพร่เนื้อหาและผู้ผลิตสื่อดิจิทัลทุกคนที่ต้องการมอบประสบการณ์การอ่านที่ดีที่สุดให้กับกลุ่มผู้ใช้สมาร์ตโฟน ดังนั้นกิจกรรมที่เกิดขึ้นนี้ก็ควรนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือเป็นต้นทุนในการผลิตสื่อด้วยเช่นกัน
สุดท้าย สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้คือ วันนี้พฤติกรรมอ่านเนื้อหาใดๆ ผ่านสมาร์ตโฟนนั้นมีความแตกต่างไปจากการสื่อสารผ่านกระดาษแบบเดิม ไม่ว่าจะเป็นปริมาณเนื้อหาที่ วิธีการนำเสนอ วิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหา ดังนั้นหากพวกเขาไม่ได้รับความสะดวกพวกเขาก็พร้อมที่จะเปลี่ยนความสนใจได้ตลอดเวลา ด้วย "อำนาจที่มาจากปลายนิ้ว" และความเป็นปัจเจกของพวกเขานั่นเอง
หากคุณต้องให้กับกลุ่มเป้าหมาย ลูกค้า คู่ค้า พนักงานในองค์กรของคุณได้รับประสบการณ์การอ่านที่ดีที่สุดบนอุปกรณ์พกพา หรือต้องการคำแนะนำใดๆ เกี่ยวกับการ Reflow เนื้อหา เรายินดีที่จะช่วย หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่
www.gramdigital.net
Thank you for register with us.
We will sending a news back to you as soon as possible
แกรมดิจิทัลและพันธมิตรยินดีช่วยเหลือคุณเต็มความสามารถ กรุณาบอกความต้องการที่ชัดเจนของคุณเพื่อนำไปประกอบการจัดหาโซลูชันที่เหมาะสม ตรงกับต้องการของคุณมากที่สุด
สำนักงาน
อีเมล