ในความเป็นจริงแล้ว เราปฏิเสธการรับสื่อต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราได้หรือไม่ ให้ลองสังเกตเพื่อนๆ รอบตัวคุณก็ได้ครับ ต้องมีหลายคนแน่ๆ พยายามที่จะใช้ชีวิตแบบมิดชิดอยู่บนโลกออนไลน์ หรือแอบ "ส่อง" อย่างเดียว ไม่คอมเมนท์ และไม่กด Like
ชีวิตประจำวันของพวกเราต่างก็ต้องสัมผัสกับความหลากหลายของสื่อ และข้อความทางการตลาดจำนวนมากที่อยู่รอบตัวเรา ส่วนสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หรือ โซเชียลมีเดีย ก็ยิ่งพบเห็นได้ง่าย แพร่หลาย และมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นทุกปี
ทำให้ผมแปลกใจทุกครั้งที่เห็นบางบริษัทเมื่อเริ่มทำสื่อสารการตลาด แต่กลับต้องมานั่งชั่งน้ำหนักกันทุกครั้งว่าจะเลือกใช้แนวทางใดดี ระหว่างโซเชียลมีเดียหรือจะใช้สื่อแบบเก่า?
เพราะจริงๆ แล้วโซเชียลมีเดียที่เราคุ้นเคยนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การเขียนบล็อก โพสต์ข้อความ หรือการแชท แต่รวมทุกกิจกรรมที่คุณทำทางออนไลน์ การส่งต่อข้อความในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือการดูวิดีโอบน YouTube แล้วบอกเล่าต่อประสบการณ์เกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้รับ หรือแม้แต่การโพสต์แสดงความคิดเห็นหรือกดไลท์บนโซเชียลมีเดีย นั่นหมายความว่า พวกเขาได้มีส่วนร่วมกับโซเชียลมีเดียหรือสื่อสังคมออนไลน์แล้ว
ในอีกมุมหนึ่ง เมื่อบริษัทสร้างสรรค์แคมเปญบนโซเชียลมีเดียแล้วก่อให้เกิดกระแส Viral หรือทำให้ผู้คนเกิดการพูดคุยแล้วบอกต่อทั้งในแง่ดีและไม่ดี ก็กล่าวได้ว่า ได้เข้าสู่รูปแบบของโซเชียลมีเดียในอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกัน
อย่างที่รู้กันดีว่า สื่อเก่า และโซเชียลมีเดีย ต่างก็มีวัตถุประสงค์การใช้งาน และมีเป้าหมายการนำเสนอที่แตกต่างกัน
เราจึงควรมองให้ลึกลงไปที่ประโยชน์ของสื่อแต่และประเภทให้ถ่องแท้ แล้วนำมาปรับใช้ให้เพื่อสนับสนุนกระบวนการสื่อสารการตลาดของคุณได้อย่างเหมาะสม ส่งผลในเชิงบวกต่อกระบวนการสร้างประสบการณ์ของแบรนด์ (Brand Experience) ได้ในที่สุด
เพื่อแสดงให้เห็นว่าสื่อทั้ง 2 ประเภท ต่างก็ต้องนำมาบูรณาการเพื่อเติมเต็มซึ่งกันและกัน วันนี้เราลองมาพิจารณาสื่อทั้ง 2 แบบนี้ไปด้วยกันนะครับ
ดังนั้นการนำเสนอผ่านสื่อทั้ง 2 รูปแบบ จึงต้องผสมผสานจุดดีจุดด้อยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการสื่อสารที่กำหนดไว้มากที่สุด และนี่คือส่วนสำคัญของกระบวนการสร้างสิ่งที่เรียกว่า ประสบการณ์ของแบรนด์ (Brand Experience) ซึ่งอยู่นอกเหนือจากงานที่ฝ่ายการตลาดของคุณจะทำได้!!!!
เพราะสิ่งเหล่านี้เกิดจากลูกค้าของคุณเท่านั้น!!!
ยิ่งแบรนด์ของคุณสามารถเชื่อมโยงกับพวกเขา และพวกเขาก็สามารถเชื่อมต่อกับแบรนด์ นี่จึงจะเป็นจุดเชื่อมโยงที่จะช่วยกำหนดให้มีการตัดสินใจซื้อในครั้งถัดๆ ไปของพวกเขา แต่จะจงรักภักดี และรู้สึกเชื่อมั่นมากพอที่จะให้การสนับสนุนแบรนด์ต่อไปในอนาคตหรือไม่? ก็ขึ้นอยู่กับว่าการเชื่อมโยงนั้นสร้างความพึงพอใจ หรือช่วยแก้ปัญหาให้กับพวกเขาได้มากน้อยแค่ไหน
Thank you for register with us.
We will sending a news back to you as soon as possible
แกรมดิจิทัลและพันธมิตรยินดีช่วยเหลือคุณเต็มความสามารถ กรุณาบอกความต้องการที่ชัดเจนของคุณเพื่อนำไปประกอบการจัดหาโซลูชันที่เหมาะสม ตรงกับต้องการของคุณมากที่สุด
สำนักงาน
อีเมล